"สศท." เปิดโครงการกิจกรรมการส่งเสริมตระหนักและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม

"สศท."  เปิดโครงการกิจกรรมการส่งเสริมตระหนักและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Intellectual Properties of Crafts)

23 พฤษภาคม  2566 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดทำโครงการส่งเสริมการตระหนักและใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Intellectual Properties of Crafts)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านการจดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาให้กับกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยและนักออกแบบ โดยมุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์หัตกรรมที่ถูกสร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นได้รับการคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา และขยายผลต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม

นายภาวี โพธิ์ยี่ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
ประธานเผยว่า"
โครงการส่งเสริมการตระหนักและใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Intellectual Properties of Crafts) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของ สศท. ในการจดลิขสิทธิ์และป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาให้กับสมาชิกของ สศท. เพื่อส่งเสริมผลงานอันเป็นภูมิปัญญาและงานศิลปหัตถกรรมไทยที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้คงอยู่ และการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ โดยเป็นนับกิจกรรมต่อเนื่องจากการดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ซึ่งมุ่งเน้นให้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในการลงพื้นที่พบผู้ประกอบการสมาชิก สศท. 4 ภาค ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการหวงแหนภูมิปัญญาที่นำมาผลิตในศิลปหัตถกรรมไทย โดยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการตระหนักและใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Intellectual Properties of Crafts) จะได้รับความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่จะไปต่อยอดในการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาในงานศิลปหัตถกรรมต่อไป"รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยกล่าว.. 

ทั้งนี้ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการจัดแสดงโชว์ใน งาน  Craft Bangkok โดยจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2566 ณ ไบเทคบางนา

โดยทางสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท.เปิดเผยว่า “ ทาง ” สศท. ซึ่งเป็นสถาบันที่ส่งเสริมให้สมาชิกผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทยและนักออกแบบที่ต้องการขยายผล โดยในปี 2565 สำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ได้จัด
กิจกรรมให้ความรู้ ทำการอบรมสัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และการให้คำปรึกษาด้านการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การจดสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตร ในพื้นที่ 4 จังหวัด ผ่านกิจกรรรมการพบสมาชิกผู้ประกอบการงานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างให้ความเข้าใจโครงการส่งเสริมการตระหนักและใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาของผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม (Intellectual Properties of Crafts) ซึ่งได้รวบรวมผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์จากสมาชิกของ สศท. 
รวมทั้งผู้ผลิตศิลปหัตถกรรม ยังได้ทำการรวบรวมจัดทำเป็น E-Catalog Online เผยแพร่สู่สาธารณะผ่านสื่อ Social Media Marketplace โดยมีความมุ่งหวังที่จะทำให้ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาเข้าถึงกลุ่มผู้ที่สนใจมากยิ่งขึ้นและยังต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ทั้งยังมีการจัดเวิร์กชอปเพื่อสร้างผู้ประกอบการให้เป็นมืออาชีพ ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำต้นทุนทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญและภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างภาพลักษณ์ผลงาน สร้างแบรนด์ช่วยยกระดับคุณค่าและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย ทางเราจึงอยากเชิญชวนให้มาสมัครเข้าร่วมทำกิจกรรมของโครงการฯ กันให้เยอะๆ ครับ

 
สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจะได้เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์กชอป Pre-Professional Brand Identity เพื่อสร้างผู้ประกอบการมืออาชีพ และอบรมให้ความรู้ด้านการนำต้นทุนทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างภาพลักษณ์ของผลงาน ทั้งยังสร้างแบรนด์เพื่อยกระดับคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย โดนจะนำผลงานที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ในรูปแบบ IP Crafts Marketplace และร่วมจัดแสดงผลงานในงาน' Craft Bangkok 2023'​ ระหว่างวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2566 ณ ไบเทค บางนา

ทั้งนี้ทางโครงการได้ฯเปิดรับสมัครแก่บุคคลทั่วไปอีกด้วย

ผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย โทร.035-367054-9 ต่อ 1373 คุณสุติรัตน์ หรือต่อ 1354 คุณธัชชาอร และโทร.083-841-6333 คุณธีรพงษ์ คงอินทร์

ความคิดเห็น