พพ.จัดเสวนาเสริมความรู้ความเข้าใจในพืชพลังงานป้อนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้กับสมาชิกรัฐวิสาหกิจชุมชน ณ โรงแรม พูลเเมน ราชาออคิด

พพ.จัดเสวนาเสริมความรู้ความเข้าใจในพืชพลังงานป้อนโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ให้กับสมาชิก ณ โรงแรม พูลเเมน ราชาออคิด 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) จัดกิจกรรมเสวนา และนิทรรศการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าชุมชนฯ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพลังงาน  ถือเป็นหนึ่งในนโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่จะช่วยให้ชุมชนมีรายได้จากการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า  และลดภาระค่าใช้จ่าย  มีรายได้จากการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง  เกิดการสร้างงาน  สร้างอาชีพ  สร้างความเข้มแข็งในชุมชน  ลดการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน  กระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่  ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน 

โดยมี ดร.ประเสริฐ  สินสุขประเสิรฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน นายอดิศักดิ์ ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย ค้นคว้า พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายนพพร ทรัพย์เห็นสว่าง ผู้ช่วยเลขาธิการสายบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าและภูมิภาค  สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน นายสันติ เล้งรักษา และนายประสิทธ์ ทองแท่งไทย ตัวแทนโรงไฟฟ้าชุมชน บริษัท ยูเอซี แอนด์ ทีพีพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผศ.ดร.พฤกษ์  อักกะรังสี สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  ร่วมงาน ณ โรงแรมพูลแมน ราชาออร์คิด ดร.ประเสริฐ  สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
 

กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ถือเป็นหนึ่งในนโยบายด้านพลังงาน  เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้จากการร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า และการจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้า  รวมไปถึงชุมชนในพื้นที่ได้รับผลตอบแทนในรูปของการพัฒนาและบริการให้กับชุมชน เช่น ด้านการรักษาพยาบาล ด้านสาธารณูปโภค ด้านการศึกษา ส่งผลให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการนำร่อง โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก มีเป้าหมายในการรับซื้อไฟฟ้ารวม 150 เมกะวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลที่ได้จากการปลูกไม้โตเร็ว และก๊าซชีวภาพจาก พืชพลังงาน โดยมีการลงทุนโดยภาคเอกชน และจะเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 90 และให้วิสาหกิจชุมชน ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 โดยเป็นหุ้นบุริมสิทธิ โดยโรงไฟฟ้าชุมชนฯ จะมีการทำสัญญารับซื้อเชื้อเพลิงในรูปแบบ Contract Farming กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นข้อตกลงในปริมาณ และราคารับซื้อเชื้อเพลิงอย่างยุติธรรม โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากจะเป็นมิติหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน 
 
ทั้งการส่งเสริมพลังงานทดแทนตามความเหมาะสมของพื้นที่  ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่เกษตรกรเองสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโรงไฟฟ้าระดับชุมชน เป้าหมายสำคัญของโครงการ คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนให้มีรายได้มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง)แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 43 โครงการ แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล 16 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 27 โครงการ โครงการ ปริมาณเสนอขายไฟฟ้ารวม 149.50 เมกะวัตต์ กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมีค่าไฟฟ้าเสนอขายเฉลี่ย 3.1831 บาทต่อหน่วย 

สำหรับกิจกรรมเสวนาสร้างความรู้ความเข้าใจในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก  นายอดิศักดิ์ ชูสุข ผู้อำนวยการกองวิจัย ค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายนพพร ทรัพย์เห็นสว่าง ผู้ช่วยเลขาธิการสายบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าและภูมิภาค สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน นายสันติ เล้งรักษา และนายประสิทธ์ ทองแท่งไทย ตัวแทนโรงไฟฟ้าชุมชน บริษัท ยูเอซี แอนด์ ทีพีพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เรื่อง "โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก" เรื่องน่ารู้ "พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพของชุมชน" โดย ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ และเทคนิคการปลูกพืชพลังงาน เพื่อผลิตไฟฟ้า โดยคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ความคิดเห็น